การประเมินตนเองตามเกณฑ์
AUN-QA รอบปีการประเมิน 2564
โครงการร่วมบริหารหลักสูตรฯ (มีเดีย)
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รายงานวันที่ 1 สิงหาคม 2565
ตามที่มติคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ครั้งที่ 5/2564 (12 พ.ค.2564) และครั้งที่ 7/2564 (14 ก.ค.2564) เรื่องเกี่ยวกับแนวปฏิบัติสำหรับสถาบันอุดม ศึกษาในการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา และประกาศกระทรวงการอุดม ศึกษา (19 ก.ค.2564 และ 5 ส.ค.2564) เรื่อง หลักเกณฑ์การประกันคุณภาพของ สถาบันอุดมศึกษาในส่วนที่เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพภายใน การติดตามตรวจสอบ คุณภาพการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ.2562 กําหนดให้หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน หมายความว่า การประเมิน การจัดการศึกษาและผลการจัดการศึกษาซึ่งกระทำโดยสถาบันอุดมศึกษา ว่าเป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษา และตามพันธกิจหลักและยุทธศาสตร์ของสถาบัน ที่สอดคล้องกับการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งการเสนอแนะแนวทางการปรับปรุง พัฒนาคุณภาพการศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายใน เป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการบริหารการศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง คือให้มีการประเมิน คุณภาพในระดับหลักสูตร โดยที่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษามีอิสระในการเลือกระบบ หรือมาตรฐานในการประกันคุณภาพที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลมาใช้ในการประกันคุณภาพได้ โดยจะต้องมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก
ด้วยเหตุนี้ ในปีการศึกษา 2564 หลักสูตรศิลปบัณฑิต โครงการร่วมบริหารหลักสูตรฯ (มีเดีย) (หลักสูตรปริญญาตรี ทางวิชาการ) จึงได้จัดทํารายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report : SAR) โดยใช้เกณฑ์การประเมินตามมาตรฐานเครือ ข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network Quality Assurance : AUN-QA) เวอร์ชั่น 3 มาใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพการศึกษา ในระดับหลักสูตร เพื่อรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2565 (ภาคเรียนที่ 1 และ 2 ปีการศึกษา 2564) โดยรายงาน ฉบับนี้ได้แสดงผลการประเมินตนเองตามเกณฑ์ของ AUN-QA ฉบับเต็มทั้งหมด 11 เกณฑ์ ที่แบ่งระดับของการประเมินตามเกณฑ์ 7 ระดับ เพื่อรายงานผลซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของระบบการประกันคุณภาพภายใน ที่มหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้ และสอดรับกับพระราช บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ อีกทั้งเพื่อเป็นการตระหนักถึงความสำคัญและการพัฒนา คุณภาพทางการศึกษา เพื่อนำพาหลักสูตรให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และพัฒนา ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยต่อไป
โครงการร่วมบริหารหลักสูตรฯ (มีเดีย)
รายงานวันที่ 1 สิงหาคม 2565
บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary of the SAR)
โครงการร่วมบริหารหลักสูตร (มีเดีย) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ (หลักสูตรปริญญาตรี ทางวิชาการ) รายงานผลการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report : SAR) ครั้งนี้ จัดทำขึ้นโดยใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพภายใต้ชื่อ The Council of the University Presidents of Thailand Quality Assurance (CUPT-QA) ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตร เป็นไปตามที่สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในการประชุมครั้งที่ 187 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 ได้มีมติให้ความเห็นชอบหลักการระบบประกันคุณภาพการศึกษาของ มจธ.ที่ใช้ระบบ ประกันคุณภาพตามแนวทาง ASEAN University Network – Quality Assurance (AUN-QA) ภาคประเทศไทย
การประเมินระดับหลักสูตร จะครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร โดยระบบ CUPT QA ได้กำหนด แบ่งได้เป็น 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร และ 2.องค์ประกอบที่ 2 เกณฑ์การพัฒนา ใช้แนวทางของ ASEAN University Network Quality Assurance (AUN-QA) เวอร์ชั่น 3 ประกอบไปด้วย 11 เกณฑ์หลัก 50 เกณฑ์ย่อย ตามคู่มือ CUPT-QA โครงการร่วมบริหารหลักสูตรฯ (มีเดีย) ได้จัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ปีการศึกษา 2564 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำให้ประชาคมมั่นใจในคุณภาพการจัดการ ศึกษาของหลักสูตร เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เพื่อสอดรับกับนโยบายของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในการพัฒนา ความเป็นเลิศ โดยการประเมินตนเอง และนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขอย่าง ต่อเนื่อง จึงได้มุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาตามพันธกิจ และแผนพัฒนาของโครงการ ร่วมบริหารหลักสูตรศิลปบัณฑิตสาขาวิชามีเดียอาตส์ และหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณ ฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย ที่ประชาคมร่วมกันกำหนด ตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ ในแผนพัฒนาฉบับที่ 13 (2565–2569) โดยจัดให้มีการทำแผนปฏิบัติการประจำปี มีการประเมินงานที่ปฏิบัติโดยกระจายเป้าหมายสู่สาขาวิชาภายใน ดังนั้น ปีการศึกษา 2564 โครงการร่วมบริหารหลักสูตรฯ (มีเดีย) จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับ ปริญญาตรี มีจำนวนนักศึกษาตามแผนที่กำหนด โดยคำนึงถึงคุณภาพบัณฑิต การจัดการเรียนการสอน งานวิจัย งานสร้างสรรค์ งานบริการวิชาการ และการ ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม อันเป็นภารกิจหลัก จากการประเมินผลตนเอง ตามเกณฑ์ทั้ง 11 ดังกล่าว สรุปผลได้ดังนี้