MEDIA TECHNOLOGY

หลักสูตรเทคโนโลยีมีเดียมุ่งผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและทักษะในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมีเดียในด้านต่างๆ โดยการบูรณาการศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ เทคโนโลยี ศิลปะการออกแบบและพฤติกรรมการรับรู้ของมนุษย์ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สามารถตอบสนองการดำเนินชีวิตของมนุษย์ และเพื่อประยุกต์ใช้มีเดียกับศาสตร์อื่นๆ เพื่อให้ศาสตร์นั้นๆมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น เช่น การแพทย์ เกม ดิจิทัลคอนเทนต์ บันเทิง นิทรรศการ และงานโชว์ และอุปกรณ์สื่อไร้สายต่างๆ

STUDENT WORKS

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย
Bachelor of Science Program in Media Technology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม
วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีมีเดีย)
Bachelor of Science Program (Media Technology)

ชื่อย่อ
วท.บ. (เทคโนโลยีมีเดีย)
B.Sc. (Media Technology)

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร

138 หน่วยกิต

สถานที่จัดการเรียนการสอน

อาคารเทคโนโลยีมีเดียและศิลป์ประยุกต์ (A1) โครงการร่วมบริหาร
หลักสูตร ศล.บ. สาขาวิชามีเดียอาตส์ และ วท.บ.สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.บางขุนเทียน)

วิชาเอก

01

MEDIA DIGITAL

เทคโนโลยีมีเดียดิจิทัล

เน้นการเรียนการสอนในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และทักษะการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐานหลากหลายภาษา ไปจนถึงการสื่อสารข้อมูล เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และการออกแบบมีเดีย โดยมุ่งสร้างผลงานวิจัยในด้านการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้แงการของมนุษย์ในการดำเนินชีวิต สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษา สามารถประกอบอาชีพด้านการพัฒนาเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ นักออกแบบเทคโนโลยีเพื่อสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

02

GAME DEVELOPMENT

การพัฒนาเกม

เน้นการเรียนการสอนด้านการพัฒนาเกมและสื่อปฏิสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานตั้งแต่การออกแบบเชิงสร้างสรรค์ ควบคู่ไปกับการเขียนโปรแกรม และเรียนรู้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเกม ไปจนถึงการออกแบบเกมทั้งรูปแบบ 2 มิติและ 3 มิติ เพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางด้านการพัฒนาเกมและสื่อปฏิสัมพันธ์ทั้งในรูปแบบซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ขั้นสูง สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษา สามารถประกอบอาชีพในด้านการพัฒนาเกมทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และการออกแบบกราฟิก ผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ทางด้านเกม และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

03

Medical and Science Media

นวัตกรรมมีเดียทางการแพทย์

มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้ และบูรณาการความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์กับวิทยาการทางการแพทย์ โดยมุ่งสร้างผลงานวิจัยเชิงประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมีเดียใหม่ๆที่ตอบสนองความต้องการและเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

(Program Learning Outcome: PLOs)

PLO01

สร้างสรรค์ผลงานทางด้านเทคโนโลยีปฏิสัมพันธ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจด้านอุตสาหกรรมเกม, ดิจิทัล หรือสุขภาพ

PLO02

มีความสามารถในการทำงานร่วมกัน นำเสนอผลงานที่สร้างขึ้นให้เป้นที่ประจักษ์

PLO03

สามารถนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาทางด้านงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์

PLO04

เป็นผู้มีความเคารพตนเอง เคารพผู้อื่น มีจรรยาบรรณและสามาถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

WHY Media Technology?

การบูรณาการหลายศาสตร์

ผสมผสานเทคโนโลยี, ศิลปะและการออกแบบ, และพฤติกรรมการรับรู้ของมนุษย์ เพื่อสร้างนวัตกรรมและประยุกต์ใช้กับด้านต่างๆ เช่น การแพทย์, เกม, ดิจิทัลคอนเทนต์​
WHY Media Technology?

ผลลัพธ์การเรียนรู้

รวมถึงทักษะด้านความรู้และวิชาชีพ, ทักษะในการสื่อสารและการทำงานร่วมกัน, ทักษะในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, และความรับผิดชอบทางสังคมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
WHY Media Technology?

โอกาสทางอาชีพ

นักศึกษาสามารถประกอบอาชีพในหลากหลายสาขา เช่น นักออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยี, ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเกม, นักพัฒนาเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลคอนเทนต์ทางด้านสาธารณสุข

Qualification

สาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษา ตอนปลายทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือประกาศนียบัตรที่กระทรวง
ศึกษาธิการเทียบเท่า และผ่านเกณฑ์คัดเลือกโดยสาขาวิชามีเดียอาตส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผ่านระบบการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (สป.อว.) หรือผ่านการคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นผู้ดำเนิน การ หรือผ่านการคัดเลือกของหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย (หลักสูตรปริญญาตรี ทางวิชาการ) โครงการร่วมบริหารหลักสูตรฯ (มีเดีย) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ. เป็นผู้ดำเนินการ พิจารณาตามกรอบโดยเมื่อหลักฐานครบผ่านตามเกณฑ์ จึงสามารถเข้าการ สอบข้อเขียน ความถนัด และการสอบสัมภาษณ์ ตามกำหนดการที่ประกาศรับสมัคร ซึ่งในการคัด เลือกเน้นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ ทักษะทางด้านศิลปะการออกแบบและแฟ้มสะสมผลงาน ให้คณะ กรรมการในการพิจารณาประกอบ โดยการรับนักศึกษา แบ่งประเภทการรับนักศึกษา ดังนี้

  • รอบที่ 1 รับสมัครและคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัย (Active Recruitment / ความสามารถพิเศษ และทุนเพชรพระจอมเกล้า / คัดเลือกตรงเรียนดี)
  • รอบที่ 2 โครงการ Active Recruitment(เกณฑ์ Active / GAT-PAT เพื่อกระจายโอกาสทางการ ศึกษา / GAT-PAT เพื่อผู้เรียนดี มีคุณธรรม)
  • รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน และแอดมิชชั่นกลาง TCAS
  • รอบที่ 4 รับสมัครและคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 132 หน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 31 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 101 หน่วยกิต
ข.1 วิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 10 หน่วยกิต
ข.2 วิชาพื้นฐานมีเดีย 6 หน่วยกิต
ข.3 วิชาบังคับเทคโนโลยีมีเดีย 48 หน่วยกิต
ข.4 วิชาบังคับตามกลุ่มวิชา 28 หน่วยกิต
ข.5 วิชาเลือกในหลักสูตร 9 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

tuition fee

ค่าบำรุงการศึกษา
12,000 บาท/ภาคการศึกษา
8 ภาคการศึกษา
96,000 บาท
ค่าลงทะเบียน
1,500 บาท/หน่วยกิต
138 หน่วยกิต
207,000 บาท
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
303,000 บาท

(ค่าบำรุงการศึกษา 12,000 บาท/ภาคการศึกษา + ค่าลงทะเบียน 1,500 บาท/หน่วยกิต)

Future Careers

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
สำหรับสื่อปฏิสัมพันธ์และศิลปะจัดวาง
  • นักออกแบบเทคโนโลยีเพื่อสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ในรูปแบบสื่อดิจิทัลคอนเทนท์ที่ทันสมัย
  • นักพัฒนาอุปกรณ์ที่สนับสนุนการวิจัยและนักพัฒนางาน
วิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมีเดีย
  • นักออกแบบและพัฒนาเกมในรูปแบบซอฟต์แวร์
และฮาร์ดแวร์
  • ผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และ
ฮาร์ดแวร์ทางด้านเกม
  • นักออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
สำหรับใช้ในชีวิตประจาวัน
  • นักออกแบบและสร้างเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลคอนเทนต์ทาง
ด้านสาธารณสุข
  • นักออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์
และฮาร์ดแวร์เพื่องานด้านสุขภาพ
  • นักออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีสื่อเพื่อสนับสนุนงาน
วิจัยทางด้านสาธารณสุข