Medical and Science Media

หลักสูตรที่มีการผสมผสานระหว่างศาสตร์ทางด้านศิลปะ ศาสตร์ทาง ด้านเทคโนโลยี ศาสตร์ทางด้านนิเทศศาสตร์ และศาสตร์ทางด้านการ แพทย์และวิทยาศาสตร์ จึงเป็นหลักสูตรที่มีความเป็นพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) ซึ่งมุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถ และทักษะในการออกแบบ

STUDENT WORKS

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์
Bachelor of Technology Program in Medical and Science Media

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม
เทคโนโลยีบัณฑิต (มีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์)
Bachelor of Technology Program (Medical and Science Media)

ชื่อย่อ
ทล.บ . (มีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์)
B.Tech. (Medical and Science Media)

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร

135 หน่วยกิต

สถานที่จัดการเรียนการสอน

อาคารเทคโนโลยีมีเดียและศิลป์ประยุกต์ (A1) โครงการร่วม บริหารหลักสูตร ศล.บ. สาขาวิชามีเดียอาตส์ และ วท.บ.สาขาวิชาเทค โนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.บางขุนเทียน)

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

(Program Learning Outcome: PLOs)

PLO01

สามารถนำความรู้และทักษะด้านศิลปะ การออกแบบสื่อและการรับรู้ของมนุษย์ เพื่อนำมาออกแบบสื่อด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์

PLO02

สามารถนำความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ด้านการแพทย์ วิทยาสศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำมาออกแบบสื่อด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์

PLO03

สามารถนำความรู้ด้านศิลปะ การออกแบบสื่อ การรับรู้ของมนุษย์ การแพทย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาประยุกต์เพื่อใช้แก้ปัญหาด้านสื่อทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์

PLO04

มีจรรยาบรรณในการทำงาน สามาถทำงานเป็นทีม สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

WHY Medical and Science Media?

การผสมผสานหลายศาสตร์

หลักสูตรอันหลากหลายของเราครอบคลุมสาขา
วิชาศิลปะสื่อและเทคโนโลยี รวมถึงการผลิตสื่อดิจิทัล การออกแบบเกม แอนิเมชั่น วิชวลเอฟเฟกต์ ความเป็นจริงเสมือน และอื่นๆ
WHY Medical and Science Media?

ผลลัพธ์การเรียนรู้หลักสูตร

ประกอบด้วยความสามารถในการอธิบายและปฏิบัติการด้านศิลปะ, การออกแบบสื่อ, ความรู้ด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์, รวมทั้งการประยุกต์ความรู้เหล่านี้ในการแก้ปัญหาด้านสื่อการแพทย์และวิทยาศาสตร์
WHY Medical and Science Media?

โอกาสทางอาชีพ

นักศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้หลายสาย เช่น นักเวชนิทัศน์, นักโสตทางการแพทย์, ช่างภาพทางการแพทย์, นักออกแบบกราฟิก, นักวิชาการโสตทัศนศึกษา, และนักผลิตสื่อวีดีทัศน์

Qualification

สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย (ทุกกลุ่มวิชาเอก) เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษา ตอนปลายทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือประกาศนียบัตรที่กระทรวง
ศึกษาธิการเทียบเท่า และผ่านเกณฑ์คัดเลือกโดยสาขาวิชามีเดียอาตส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผ่านระบบการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (สป.อว.) หรือผ่านการคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นผู้ดำเนิน การ หรือผ่านการคัดเลือกของหลักสูตร เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรปริญญาตรี ทางวิชาการ) โครงการร่วมบริหารหลักสูตรฯ (มีเดีย) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ. เป็นผู้ดำเนินการ พิจารณาตามกรอบโดยเมื่อหลักฐานครบผ่านตามเกณฑ์ จึงสามารถเข้าการ สอบข้อเขียน ความถนัด และการสอบสัมภาษณ์ ตามกำหนดการที่ประกาศรับสมัคร ซึ่งในการคัด เลือกเน้นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ ทักษะทางด้านศิลปะการออกแบบและแฟ้มสะสมผลงาน ให้คณะ กรรมการในการพิจารณาประกอบ โดยการรับนักศึกษา แบ่งประเภทการรับนักศึกษา ดังนี้

  • รอบที่ 1 รับสมัครและคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัย (Active Recruitment / ความสามารถพิเศษ และทุนเพชรพระจอมเกล้า / คัดเลือกตรงเรียนดี)
  • รอบที่ 2 โครงการ Active Recruitment(เกณฑ์ Active / GAT-PAT เพื่อกระจายโอกาสทางการ ศึกษา / GAT-PAT เพื่อผู้เรียนดี มีคุณธรรม)
  • รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน และแอดมิชชั่นกลาง TCAS
  • รอบที่ 4 รับสมัครและคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 135 หน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 31 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะทางด้านมีเดียทางการแพทย์ฯ 98 หน่วยกิต
ข.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานมีเดีย 6 หน่วยกิต
ข.2 กลุ่มวิชาทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ 12 หน่วยกิต
ข.3 กลุ่มวิชาศิลปะและการออกแบบ 24 หน่วยกิต
ข.4 กลุ่มวิชามีเดีย 21 หน่วยกิต
ข.5 กลุ่มวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ 15 หน่วยกิต
ข.6 กลุ่มวิชาเลือกมีเดีย 3 หน่วยกิต
ข.7 กลุ่มวิชาโครงงาน 5 หน่วยกิต
ข.8 กลุ่มวิชาเรียนรู้ร่วมการทำงาน 9 หน่วยกิต
ข.9 กลุ่มวิชาเลือกในหลักสูตร 3 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

tuition fee

ค่าบำรุงการศึกษา
12,000 บาท/ภาคการศึกษา
8 ภาคการศึกษา
96,000 บาท
ค่าลงทะเบียน
1,500 บาท/หน่วยกิต
135 หน่วยกิต
202,500 บาท
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
298,000 บาท

(ค่าบำรุงการศึกษา 12,000 บาท/ภาคการศึกษา + ค่าลงทะเบียน 1,500 บาท/หน่วยกิต)

Future Careers

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักเวชนิทัศน์ นักโสตทางการแพทย์ และ ช่างภาพทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน หน่วยงานนิติวิทยาศาสตร์
  • นักสื่อสารสุขภาพและวิทยาศาสตร์ และหน่วยงานการศึกษาที่มีคณะที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • ฝ่ายเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลรัฐและเอกชน
  • นักออกแบบภาพประกอบทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์
  • นักสื่อสารสุขภาพและสื่อสารวิทยาศาสตร์
  • นักออกแบบกราฟิก ช่างภาพ
  • นักผลิตหุ่นจำลองทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์
  • นักวิชาการโสตทัศนศึกษา นักเทคโนโลยีทางการศึกษา ในสถาบันการศึกษา และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  • นักผลิตรายการ นักผลิตสื่อวีดีทัศน์ และสื่อเคลื่อนไหว 2 มิติ และ 3 มิติ