หลักสูตรที่มีการผสมผสานระหว่างศาสตร์ทางด้านศิลปะสร้างสรรค์ การออกแบบสื่อ การรับรู้ของมนุษย์ ศาสตร์ทางด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (Interdisciplinary) โดยนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตสื่อด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์เพื่อใช้เป็นสื่อสำหรับการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ด้านสุขภาพและวิทยาศาสตร์
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์
Bachelor of Technology Program in Medical and Science Media
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม
เทคโนโลยีบัณฑิต (มีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์)
Bachelor of Technology Program (Medical and Science Media)
ชื่อย่อ
ทล.บ . (มีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์)
B.Tech. (Medical and Science Media)
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร
135 หน่วยกิต
สถานที่จัดการเรียนการสอน
อาคารเทคโนโลยีมีเดียและศิลป์ประยุกต์ (A1) โครงการร่วม บริหารหลักสูตร ศล.บ. สาขาวิชามีเดียอาตส์ และ วท.บ.สาขาวิชาเทค โนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.บางขุนเทียน)
แนวทางการจัดการเรียนรู้ของหลักสูตร
ปูพื้นฐานที่สำคัญ
จะได้เรียนเกี่ยวกับรายวิชาพื้นฐานที่สำคัญและวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่น การวาดเส้น หลักการออกแบบ การจัดการอุปกรณ์สื่อและการสตรีมมิ่ง รวมถึงกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ เพื่อปูพื้นฐานสู่การสร้างสรรค์สื่อทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ในอนาคต
การประยุกต์ใช้
จะได้เรียนรู้การประยุกต์ใช้ทักษะด้านการสร้างสรรค์สื่อที่เฉพาะทางมากยิ่งขึ้น เช่น การวาดภาพทางการแพทย์ การถ่ายภาพและวิดีโอสำหรับสื่อทางการแพทย์ พร้อมศึกษาเนื้อหาเฉพาะด้านทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น เช่น สรีรวิทยาและพยาธิวิทยา เพื่อให้พร้อมสำหรับการพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพในหลากหลายรูปแบบ
พัฒนาความเชี่ยวชาญ
จะเน้นพัฒนาความเชี่ยวชาญในด้านการผลิตสื่อทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์เฉาะทาง เช่น การออกแบบโมเดล และแอนิเมชัน 3 มิติ การปั้นหุ่นจำลองทางการแพทย์ และเรียนเกี่ยวกับสื่อใหม่ตามยุคสมัย พร้อมศึกษาแนวทางการวิจัย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำโครงงานศึกษาในชั้นปีสุดท้า
เตรียมพร้อมสำหรับการทำงานหลังสำเร็จการศึกษา
จะมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำงานหลังสำเร็จการศึกษาผ่าน การทำโครงการศึกษาร่วมการฝึกงานระยะยาว 1 ภาคการศึกษา หรือ Work Integrated Learning (WIL) และนักศึกษายังมีวิชาเลือกเสรีเพื่อเสริมสร้างความเชี่ยวชาญตามความสนใจและเส้นทางอาชีพในอนาคต
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร
หลักสูตรใหม่มีอะไร
เน้นการเรียนการสอนอะไร
หลักสูตรมีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ใหม่ มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง (Hands-on) ผ่านโครงงานที่แก้ปัญหาจริงในสถานประกอบการ
เน้นการเรียนรู้และประยุกต์ใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เช่น AI, 3D , VR/AR ผ่านรายวิชาด้านสื่อที่เพิ่มขึ้นในการสร้างสื่อที่มีคุณภาพ เพื่อเตรียมผู้เรียนให้พร้อมสำหรับอาชีพเฉพาะทางอย่างนักเวชนิทัศน์ นักผลิตสื่อทางการแพทย์ ตลอดจนงานสายดิจิทัลที่หลากหลายในยุคใหม่ เช่น Content Creator พร้อมพัฒนาทักษะที่จำเป็นทั้งในด้านเทคนิคและการสื่อสาร เพื่อความสำเร็จในโลกการทำงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย (ทุกกลุ่มวิชาเอก) เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษา ตอนปลายทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือประกาศนียบัตรที่กระทรวง ศึกษาธิการเทียบเท่า และผ่านเกณฑ์คัดเลือกโดยสาขาวิชามีเดียอาตส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ผ่านระบบการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (สป.อว.) หรือผ่านการคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นผู้ดำเนิน การ หรือผ่านการคัดเลือกของหลักสูตร เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรปริญญาตรี ทางวิชาการ) โครงการร่วมบริหารหลักสูตรฯ (มีเดีย) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ. เป็นผู้ดำเนินการ พิจารณาตามกรอบโดยเมื่อหลักฐานครบผ่านตามเกณฑ์ จึงสามารถเข้าการ สอบข้อเขียน ความถนัด และการสอบสัมภาษณ์ ตามกำหนดการที่ประกาศรับสมัคร ซึ่งในการคัด เลือกเน้นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ ทักษะทางด้านศิลปะการออกแบบและแฟ้มสะสมผลงาน ให้คณะ กรรมการในการพิจารณาประกอบ โดยการรับนักศึกษา แบ่งประเภทการรับนักศึกษา ดังนี้
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 135 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 24 หน่วยกิต |
ข. หมวดวิชาเฉพาะทางด้านมีเดียทางการแพทย์ฯ | 105 หน่วยกิต |
ข.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานมีเดีย | 6 หน่วยกิต |
ข.2 กลุ่มวิชาทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ | 15 หน่วยกิต |
ข.3 กลุ่มวิชาครีเอทีฟดีไซน์ | 33 หน่วยกิต |
ข.4 กลุ่มวิชามีเดียเทคโนโลยีทางการแพทย์ | 18 หน่วยกิต |
ข.5 กลุ่มวิชาโมเดลทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ | 12 หน่วยกิต |
ข.6 กลุ่มวิชาเลือกมีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
ข.7 กลุ่มวิชาโครงงาน | 9 หน่วยกิต |
ข.8 กลุ่มวิชาเรียนรู้ร่วมการทำงาน | 9 หน่วยกิต |
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต |
(ค่าบำรุงการศึกษา 12,000 บาท/ภาคการศึกษา + ค่าลงทะเบียน 1,500 บาท/หน่วยกิต)
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา