DOWNLOAD BROCHURE
หลักสูตรปรับปรุงใหม่ 68
หลักสูตรปรับปรุงใหม่ 68

MEDIA TECHNOLOGY

หลักสูตรที่สร้างโอกาส และแรงบันดาลใจสำหรับผู้ที่สนใจโลกของเทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญใน เทคโนโลยีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Technology) และการใช้งาน ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ อย่างมืออาชีพ ครอบคลุมหัวข้อที่ล้ำสมัย เช่น เทคโนโลยีดิจิทัล คู่เสมือนดิจิทัล (Digital Twins) การพัฒนาเกม เทคโนโลยีความจริงเสมือน (VR/AR) และ นวัตกรรมทางการแพทย์

หลักสูตรนี้ไม่เพียงแค่ให้ความรู้ด้านเทคนิค แต่ยังส่งเสริม ทักษะการทำงานเป็นทีม การคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ และ การเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเติบโตในโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

จุดเด่นของหลักสูตรคือการออกแบบการเรียนรู้ในรูปแบบ Career Path ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถสร้างเส้นทางอาชีพได้หลากหลายและตรงกับความสนใจของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเกม การสร้างแอปพลิเคชัน การออกแบบ UX/UI การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์ หรือการทำงานในอุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์

STUDENT WORKS

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย
Bachelor of Science Program in Media Technology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม
วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีมีเดีย)
Bachelor of Science Program (Media Technology)

ชื่อย่อ
วท.บ. (เทคโนโลยีมีเดีย)
B.Sc. (Media Technology)

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร

137 หน่วยกิต

สถานที่จัดการเรียนการสอน

อาคารเทคโนโลยีมีเดียและศิลป์ประยุกต์ (A1) โครงการร่วมบริหาร
หลักสูตร ศล.บ. สาขาวิชามีเดียอาตส์ และ วท.บ.สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.บางขุนเทียน)

Program Learning Pathway

01

แนวทางการจัดการเรียนรู้ของหลักสูตร

การพัฒนาเกม

มุ่งเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้กระบวนการสร้างเกมตั้งแต่แนวคิด การออกแบบตัวละครและกลไกเกม ไปจนถึงการเขียนโปรแกรมและการสร้างกราฟิกด้วยเครื่องมือสมัยใหม่ เช่น Unity และ Unreal Engine นักศึกษาจะได้พัฒนาทักษะผ่านการลงมือทำจริง พร้อมทั้งเรียนรู้การทำงานเป็นทีม การแก้ปัญหา และการสร้างสรรค์ผลงานที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเกมในยุคดิจิทัล

02

UX/UI DESIGN AND DEVELOPMENT

การพัฒนาเว็บและการออกแบบ UX/UI

เน้นการพัฒนาทักษะการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน โดยรวมถึงการสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ (UI) ที่สวยงามและการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (UX) ที่ใช้งานง่าย นักศึกษาจะได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น HTML, CSS, JavaScript, และ Framework ต่าง ๆ พร้อมทั้งฝึกสร้างเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย

03

digital experience and Augmented reality

ประสบการณ์ดิจิทัลและความเป็นจริงเสมือน

มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะในเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (VR) ความจริงเสริม (AR) และประสบการณ์ดิจิทัลอื่น ๆ นักศึกษาจะได้เรียนรู้การสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริง การออกแบบเชิงโต้ตอบ (Interactive Design) และการใช้เครื่องมือสมัยใหม่ เช่น Unity, Unreal Engine และอุปกรณ์ XR เพื่อพัฒนาเนื้อหาที่มีคุณภาพและตอบโจทย์ทั้งด้านความบันเทิง การศึกษา และการใช้งานในอุตสาหกรรม

04

Medical innovation and digital healthcare

นวัตกรรมทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพดิจิทัล

เน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ในงานทางการแพทย์และสุขภาพ เช่น การพัฒนาแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ เทคโนโลยี IoT เพื่อการดูแลผู้ป่วย และการใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ นักศึกษาจะได้เรียนรู้การออกแบบสื่อดิจิทัลเพื่อการแพทย์ การสร้างโซลูชันด้านการดูแลสุขภาพ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

(Program Learning Outcome: PLOs)

PLO01

บัณฑิตสามารถสร้างสรรค์ผลงานทางด้านเทคโนโลยีปฏิสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของ อุตสาหกรรมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) หรือตามความต้องการของผู้ใช้

PLO02

บัณฑิตมีความรับผิดชอบในการทำงาน ร่วมกันเป็นทีม มีความเคารพตนเอง และผู้อื่น และมีความสามารถในการเรียนรู้ และสืบค้น เพื่อสร้างผลงานทางด้านเทคโนโลยีปฏิสัมพันธ์

PLO03

บัณฑิตสามารถนำเสนอผลงาน เขียนรายงาน วิเคราะห์ และอภิปรายผลงานได้ถูกต้องตามหลัก จริยธรรม และจรรยาบรรณของสังคม

PLO04

เป็นผู้มีความเคารพตนเอง เคารพผู้อื่น มีจรรยาบรรณและสามาถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

WHY Media Technology?

เพราะเทคโนโลยีมีเดียคือกุญแจสู่อนาคตดิจิทัล

เรียนรู้ทักษะที่ตอบโจทย์โลกยุคใหม่ ทั้งการสร้างสรรค์เกม เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และการพัฒนาเว็บไซต์ พร้อมเส้นทางอาชีพหลากหลายที่เชื่อมต่อผู้เรียนคุณกับโอกาสในอุตสาหกรรมดิจิทัลที่เติบโตอย่างรวดเร็ว!
WHY Media Technology?

ผลลัพธ์การเรียนรู้

รวมถึงทักษะด้านความรู้และวิชาชีพ, ทักษะในการสื่อสารและการทำงานร่วมกัน, ทักษะในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, และความรับผิดชอบทางสังคมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
WHY Media Technology?

โอกาสทางสายอาชีพ ?

บัณฑิตจากสาขาเทคโนโลยีมีเดียมีโอกาสทำงานในหลากหลายสายอาชีพ เช่น นักพัฒนาเกมและสื่อโต้ตอบ นักพัฒนาเว็บไซต์และ UX/UI ผู้เชี่ยวชาญด้าน AR/VR และ IoT นักพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลและคู่เสมือนดิจิทัล รวมถึงนักพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพและการแพทย์ ความรู้และทักษะที่หลากหลายช่วยให้บัณฑิตสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด พร้อมทั้งก้าวสู่บทบาทผู้ประกอบการดิจิทัลที่สามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมยุคใหม่ได้อย่างมั่นใจ

หลักสูตรปรับปรุงมีอะไรใหม่
เน้นการเรียนการสอนอะไร?

หลักสูตรเทคโนโลยีมีเดียปรับปรุงปี 2568 มุ่งเน้นการเรียนการสอนแบบ Outcome-Based Education (OBE) โดยเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ อุตสาหกรรมดิจิทัลและการเปลี่ยนแปลง ทางเทคโนโลยีในอนาคต

นักศึกษาจะได้เรียนรู้เนื้อหาทันสมัย เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อินเทอร์เน็ต ของสรรพสิ่ง (IoT) ความจริงเสมือนและความจริงเสริม (AR/VR) รวมถึงเทคโนโลยีคู่เสมือนดิจิทัล (Digital Twin) ผ่านการเรียนที่เน้นการปฏิบัติจริง (Learning by Doing) และฝึกปฏิบัติงานใน อุตสาหกรรมจริง (สหกิจศึกษา) หลักสูตรยังส่งเสริมการพัฒนาทักษะสำคัญ เช่น การคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีม พร้อมให้นักศึกษาได้เลือกเส้นทางอาชีพที่ หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น นักพัฒนาเกม (Game Developer)  นักพัฒนาเว็บและนักออกแบบ UX/UI (Web Developer & UX/UI Designer) นักพัฒนาประสบการณ์ดิจิทัลและความเป็นจริงเสมือน (Digital Experience & Reality Developer) นักนวัตกรรมทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพดิจิทัล (Digital Healthcare and Medical Innovator) และอื่นๆ

ผ่านการเรียนในกลุ่มวิชาเลือกที่ออกแบบมาให้สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของตลาด นอกจากนี้ นักศึกษายังได้เรียนรู้การใช้งานเครื่องมือดิจิทัลที่ทันสมัย เช่น Unity, Unreal Engine, และ Generative AI เพื่อสร้างผลงานและนวัตกรรมที่มีเอกลักษณ์ พร้อมเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาด แรงงานยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลักสูตรที่ถูกออกแบบขึ้นมาใหม่ปรับปรุงนี้มุ่งสร้าง บัณฑิตที่มีความพร้อมในการรับมือกับอนาคตและสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่ตอบโจทย์
ความต้องการของสังคมได้อย่างแท้จริง!

Qualification

สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษา ตอนปลายทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือประกาศนียบัตรที่กระทรวง
ศึกษาธิการเทียบเท่า และผ่านเกณฑ์คัดเลือกโดยสาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผ่านระบบการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (สป.อว.) หรือผ่านการคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นผู้ดำเนิน การ หรือผ่านการคัดเลือกของหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย (หลักสูตรปริญญาตรี ทางวิชาการ) โครงการร่วมบริหารหลักสูตรฯ (มีเดีย) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ. เป็นผู้ดำเนินการ พิจารณาตามกรอบโดยเมื่อหลักฐานครบผ่านตามเกณฑ์ จึงสามารถเข้าการ สอบข้อเขียน ความถนัด และการสอบสัมภาษณ์ ตามกำหนดการที่ประกาศรับสมัคร ซึ่งในการคัด เลือกเน้นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ ทักษะทางด้านศิลปะการออกแบบและแฟ้มสะสมผลงาน ให้คณะ กรรมการในการพิจารณาประกอบ โดยการรับนักศึกษา แบ่งประเภทการรับนักศึกษา ดังนี้

  • รอบที่ 1 รับสมัครและคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัย (Active Recruitment / ความสามารถพิเศษ และทุนเพชรพระจอมเกล้า / คัดเลือกตรงเรียนดี)
  • รอบที่ 2 โครงการ Active Recruitment(เกณฑ์ Active / GAT-PAT เพื่อกระจายโอกาสทางการ ศึกษา / GAT-PAT เพื่อผู้เรียนดี มีคุณธรรม)
  • รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน และแอดมิชชั่นกลาง TCAS
  • รอบที่ 4 รับสมัครและคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 137 หน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 24 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 107 หน่วยกิต
ข.1 วิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 10 หน่วยกิต
ข.2 วิชาพื้นฐานมีเดีย 6 หน่วยกิต
ข.3 วิชาบังคับเทคโนโลยีมีเดีย 52 หน่วยกิต
ข.4 กลุ่มวิชาเลือกเทคโนโลยีมีเดีย 39 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

tuition fee

ค่าบำรุงการศึกษา
12,000 บาท/ภาคการศึกษา
8 ภาคการศึกษา
96,000 บาท
ค่าลงทะเบียน
1,500 บาท/หน่วยกิต
138 หน่วยกิต
207,000 บาท
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
303,000 บาท

(ค่าบำรุงการศึกษา 12,000 บาท/ภาคการศึกษา + ค่าลงทะเบียน 1,500 บาท/หน่วยกิต)

Future Careers

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักพัฒนาเกมและสื่อโต้ตอบ (Game and Interactive Media Developer)
  • นักพัฒนาเว็บไซต์และ UX/UI (Web and UX/UI Developer)
  • นักพัฒนา IoT และเทคโนโลยีสมาร์ท (IoT and Smart Tech Developer)
  • นักพัฒนาความจริงเสมือนและความจริงเสริม (AR/VR Developer)
  • นักพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลและคู่เสมือนดิจิทัล (Digital Innovation and Digital Twin Developer)
  • นักพัฒนาสื่อโต้ตอบด้านการแพทย์ (Interactive Media Developer in Healthcare)
  • ผู้สร้างสรรค์ผลงานด้านการแพทย์ (Healthcare Creator)
  • ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Media Consultant)
  • ผู้ประกอบการด้านสื่อดิจิทัล (Digital Media Entrepreneur)