ในปี 2548-2549 ได้มีการรวมตัวของกลุ่มนักวิชาการของมจธ. ที่มีศาสตร์ที่ แตกต่างกันมาร่วมผสมผสานเพื่อสร้างสิ่งใหม่เพื่อรองรับอนาคต โดยเล็งเห็นว่า มนุษย์ในอนาคตในยุคดิจิทัล มีการใช้ชีวิตร่วมกับเทคโนโลยี และนวัตกรรมมีเดีย โดยมีหลักสำคัญโดยสร้างมีเดียที่ผสมผสานด้วยเทคโนโลยี ศิลปะและการรับ รู้ของมนุษย์ ต่อมาในปี 2550-2551 จึงกำเนิดความเชี่ยวชาญในรูปแบบของ หลักสูตร เพื่อใช้ในการผลิตบุคลากรขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของ อุตสาหกรรมดิจิทัลมีเดีย
ปี พ.ศ.2550 ช่วงที่อุตสาหกรรมทางด้านดิจิทัลคอนเทนต์มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมมีเดียมีมูลค่าสูงหลายพันล้านบาทและมีทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น จึงได้มีการจัดทำหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ขึ้น
ปี พ.ศ.2551 สภาวิชาการอนุมัติหลักสูตรใหม่ จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ 1) หลักสูตรวท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดียประยุกต์ (ต่อมามีการปรับแก้ไขเป็นเทคโนโลยีมีเดียตามมติ สภามหาวิทยาลัยฯ ครั้งที่ 111 วันที่ 16 พฤษภาคม 2551) 2) หลักสูตรศล.บ. สาขาวิชา มีเดียอาร์ต (ต่อมามีการปรับแก้ไขเป็นมีเดียอาตส์ ตามคำแนะนำของราชบัญฑิต) กำหนดเปิดสอนภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2551
ปี พ.ศ.2552 จัดทำหลักสูตรทล.บ. สาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ และนำเข้าสภาวิชาการเพื่อขออนุมัติหลักสูตรใหม่ กำหนดเปิดสอนภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2553
ปี พ.ศ.2553 มีการปรับปรุงหลักสูตรวท.บ สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย ปรับให้มีกลุ่มวิชาเอก ได้แก่ เอกเทคโนโลยีดิจิทัล เอกการพัฒนาเกม เอกเทคโนโลยีมีเดียชีวการแพทย์ และเพิ่มแผนการรับนักศึกษาจาก 40 คน เป็น 80 คน และมีการปรับปรุงหลักสูตรศล.บ. สาขาวิชามีเดียอาตส์ โดยปรับจำนวนนักศึกษาจาก 80 คน เป็น 120 คน กำหนดเปิดสอนภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2555
ปี พ.ศ.2555 มีการปรับปรุงหลักสูตรวท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย และหลักสูตรทล.บ. สาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ตามรอบของการปรับปรุง เพื่อให้เป็น มาตราฐานในการดำเนินงานหลักสูตรของ สกว. กำหนดเปิดสอนภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2558
และเสนอโครงการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ระดับคณะ เข้าสภาวิชาการ มจธ. ครั้งที่ 9/2555 (24 กันยายน 2555) โดยมีมติให้ความเห็นชอบในหลักการโครงการจัดตั้งวิทยาลัย มีเดียสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยให้ปรับแก้ตามข้อ เสนอแนะของสภาวิชาการและเสนอรองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิชาการพิจารณา ก่อนนำเสนอสภามหาวิทยาลัย
และเสนอโครงการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ระดับคณะ เข้าสภาวิชาการ มจธ. ครั้งที่ 9/2555 (24 กันยายน 2555) โดยมีมติให้ความเห็นชอบในหลักการโครงการจัดตั้งวิทยาลัย มีเดียสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยให้ปรับแก้ตามข้อเสนอ แนะของสภาวิชาการและเสนอรองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิชาการพิจารณา ก่อนนำเสนอ สภามหาวิทยาลัย
ปี พ.ศ.2561 คณะกรรมการอนุวิชาการ ในการประชุมครั้งที่ 3-2561 (วันที่ 8 มีนาคม 2561) มีมติเห็นชอบการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรระดับปริญญาตรีภายใต้โครงการ ร่วมบริหารหลักสูตรฯ(มีเดีย) จำนวน 7 หลักสูตร จากสังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมฯ มาสังกัดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ เริ่มใช้ตั้งแต่ภาคการศึกษที่ 1/2560 และมีผลกับนัก ศึกษารหัส 53 เป็นต้นไป เนื่องจาก คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมฯ มุ่งเน้นการผลิตครู ช่างเป็นหลัก ส่วนโครงการร่วมบริหารหลักสูตรฯ (มีเดีย) นั้น ซึ่งดำเนินการสอน ใน 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรมีเดียอาตส์ หลักสูตรมีเดียทางการแพทยฯและหลักสูตรเทคโนโลยี มีเดีย เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้เน้นการเป็นครู จึงย้ายมาอยู่ภายใต้สังกัดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ เนื่องจากอยู่ในพื้นที่การศึกษาเดียวกัน ส่งผลให้มีการขับเคลื่อนแผนพัฒนา หน่วยงานไปได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น