MEDIA ARTS

หลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
เพื่อสังคมและตอบโจทย์อุตสาหกรรมสื่อต่างๆ เช่น อุตสาหกรรม แอนิเมชัน อุตสาหกรรม ภาพยนตร์ อุตสาหกรรมด้านการออกแบบ กราฟิก ซึ่งมีเดียอาตส์ มุ่งเน้นสร้างทักษะในการสร้างสรรค์ผลงาน 
และ พัฒนาแนวคิดเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและสื่อต่างๆ

STUDENT THESIS 2024

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชามีเดียอาตส์
Bachelor of Fine Arts Program in Media Arts

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม
ศิลปบัณฑิต (มีเดียอาตส์)
Bachelor of Fine Arts (Media Arts)

ชื่อย่อ
ศล.บ. (มีเดียอาตส์)
B.F.A. (Media Arts)

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร

132 หน่วยกิต

สถานที่จัดการเรียนการสอน

อาคารเทคโนโลยีมีเดียและศิลป์ประยุกต์ (A1) โครงการร่วมบริหาร หลักสูตร ศล.บ. สาขาวิชามีเดียอาตส์ และ วท.บ.สาขาวิชา เทคโนโลยี มีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.บางขุนเทียน)

วิชาเอก

01

GRAPHIC DESIGN

กลุ่มเอก การออกแบบกราฟิก

เป็นหลักสูตรที่ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบงานกราฟิก
เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการสื่อสาร และการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งในวิชาทั่วไปและการจัดการ
ในโลกอุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์

02

ANIMATION

กลุ่มเอก แอนิเมชัน

เป็นหลักสูตรที่ศึกษาเกี่ยวกับด้านการเขียนโปรแกรม และความรู้ด้านการออกแบบและการสร้างคอมพิวเตอร์กราฟิก, ภาพเคลื่อนไหว และภาพเสมือนจริง เพื่อนำไป สร้าสรรค์ผลงานได้หลากหลายรูปแบบทั้ง 2D และ 3D รวมถึงออกแบบได้อย่างมีหลักการและเหตุผล

03

FILM

กลุ่มเอก ภาพยนตร์และภาพเคลื่อนไหว

เป็นหลักสูตรที่ศึกษาเกี่ยวกับการผลิตภาพยนตร์แบบ
ครบวงจร ตั้งแต่การวิเคราะห์ การผลิต ไปจนถึงการ สร้างภาพยนตร์ในยุคสมัยใหม่ สามารถสื่อสารแนว ความคิดในการออกแบบและผลิตมีเดียอย่างมืออาชีพ

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

(Program Learning Outcome: PLOs)

PLO01

สามารถเรียนรู้และเข้าใจศิลปะและการออกแบบในด้านมีเดีย รวมถึงค้นหาแรงบันดาลใจ/กระตุ้นในการออกแบบชิ้นงาน

PLO02

สร้างกรอบแนวคิดและเลือกใช้เครื่องมือทางศิปะและการออก แบบที่เหมาะสมกับการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายอย่างสร้างสรรค์

PLO03

สามารถวางแผน และบริหาร จัดการ การสร้าง สรรค์มีเดีย ได้อย่างมีสุนทรียะ

PLO04

สร้างประยุกต์ พัฒนาและ ปรับตัวด้านศิลปะและ การออก แบบเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและพลวัตรทางสังคม

PLO05

มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และ ปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

WHY Media Arts?

พัฒนา
ความคิดสร้างสรรค์

เน้นการพัฒนาทักษะเพื่อสังคมและอุตสาหกรรมสื่อ, รวมทั้งแอนิเมชัน, ภาพยนตร์, และการออกแบบกราฟิก
WHY Media Arts?

ทักษะหลากหลาย

สอนทักษะตั้งแต่การเรียนรู้และเข้าใจศิลปะ, การสร้างแนวคิด, การใช้เครื่องมือ, การบริหารจัดการ, ไปจนถึงการปรับตัวให้เข้ากับบริบททางสังคม​
WHY Media Arts?

โอกาสทางอาชีพ

นำไปสู่อาชีพที่หลากหลาย เช่น นักออกแบบกราฟิก, นักสร้างสรรค์งานแอนิเมชัน, ผู้กำกับศิลป์

Qualification

สาขาวิชามีเดียอาตส์ (ทุกกลุ่มวิชาเอก) เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษา ตอนปลายทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือประกาศนียบัตรที่กระทรวง
ศึกษาธิการเทียบเท่า และผ่านเกณฑ์คัดเลือกโดยสาขาวิชามีเดียอาตส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผ่านระบบการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (สป.อว.) หรือผ่านการคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นผู้ดำเนิน การ หรือผ่านการคัดเลือกของหลักสูตร ศิลปบัณฑิต สาขาวิชามีเดียอาตส์ (หลักสูตรปริญญาตรี ทางวิชาการ) โครงการร่วมบริหารหลักสูตรฯ (มีเดีย) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ. เป็นผู้ดำเนินการ พิจารณาตามกรอบโดยเมื่อหลักฐานครบผ่านตามเกณฑ์ จึงสามารถเข้าการ สอบข้อเขียน ความถนัด และการสอบสัมภาษณ์ ตามกำหนดการที่ประกาศรับสมัคร ซึ่งในการคัด เลือกเน้นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ ทักษะทางด้านศิลปะการออกแบบและแฟ้มสะสมผลงาน ให้คณะ กรรมการในการพิจารณาประกอบ โดยการรับนักศึกษา แบ่งประเภทการรับนักศึกษา ดังนี้

  • รอบที่ 1 รับสมัครและคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัย (Active Recruitment / ความสามารถพิเศษ และทุนเพชรพระจอมเกล้า / คัดเลือกตรงเรียนดี)
  • รอบที่ 2 โครงการ Active Recruitment(เกณฑ์ Active / GAT-PAT เพื่อกระจายโอกาสทางการ ศึกษา / GAT-PAT เพื่อผู้เรียนดี มีคุณธรรม)
  • รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน และแอดมิชชั่นกลาง TCAS
  • รอบที่ 4 รับสมัครและคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 132 หน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 31 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 95 หน่วยกิต
ข.1 วิชาพื้นฐาน 33 หน่วยกิต
ข.1.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานมีเดีย 6 หน่วยกิต
ข.1.2 กลุ่มวิชาพื้นฐานศิลปะและการออกแบบ 27 หน่วยกิต
ข.2 กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน 30 หน่วยกิต
วิชาเอกบังคับ
ข.2.1 กลุ่มวิชาเอกออกแบบกราฟิก
ข.2.2 กลุ่มวิชาเอกแอนิเมชั่น
ข.2.3 กลุ่มวิชาเอกภาพยนตร์และภาพเคลื่อนไหว
ข.3 กลุ่มวิชามีเดียอาตส์เลือก 18 หน่วยกิต
ข.4 กลุ่มวิชาสัมนา โครงงาน และฝึกงาน 14 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

tuition fee

ค่าบำรุงการศึกษา
12,000 บาท/ภาคการศึกษา
8 ภาคการศึกษา
96,000 บาท
ค่าลงทะเบียน
1,500 บาท/หน่วยกิต
132 หน่วยกิต
19,800 บาท
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
294,000 บาท

(ค่าบำรุงการศึกษา 12,000 บาท/ภาคการศึกษา + ค่าลงทะเบียน 1,500 บาท/หน่วยกิต)

Future Careers

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักออกแบบในหน่วยงานรัฐและเอกชน
    • นักออกแบบภาพเคลื่อนไหว (Motion Graphic Designer)
    • นักออกแบบอินเตอร์แอคทีฟ (Interactive Designer)
    • นักออกแบบตัวอักษร (Type Designer)
    • นักวาดภาพประกอบ (Illustrator)
    • นักออกแบบเว็บไซต์ (Web Designer)
    • นักออกแบบอัตลักษณ์องค์กร (Brand Designer)
    • ผู้กำกับศิลป์ (Art Director)
    • นักออกแบบสร้างสรรค์เนื้อหา (Content Creator)
    • นักออกแบบประสบการณ์การใช้งาน (UX / UI Designer)
    • นักออกแบบอีเวนท์ (Event designer)
    • นักสร้างสรรค์งานแอนิเมชัน (Animator)
    • นักสร้างเทคนิคพิเศษด้วยคอมพิวเตอร์ (Visual Effects Artists)
    • นักสร้างภาพดิจิตอล (Digital Painting Artists)
    • ผู้ช่วยผู้ผลิตแอนิเมชัน (Co-Producer)
    • นักสร้างสรรค์งานองค์ประกอบศิลป์ (Concept Artist)
    • นักวาดการ์ตูน (Comic Artist)
    • ผู้กำกับศิลป์ (Art Director )
    • นักออกแบบตัวละคร (Character Designer)
    • นักออกแบบในหน่วยงานรัฐและเอกชนในสายภาพยนตร์และภาพเคลื่อนไหว
    • ผู้อำนวยการสร้าง (Producer)
    • นักสร้างเทคนิคพิเศษในภาพยนตร์ (Special Effect Artist)
    • นักออกแบบงานสร้าง (Production Designer)
    • นักสร้างหนัง (Filmmaker)
    • ผู้กำกับ (Director)
    • ผู้สร้างสรรค์วิดิโอ (Content creator)
    • นักทำโมเดลและแบบจำลอง (Diorama &Model maker)
    • นักตัดต่องานภาพยนตร์ (Editor)
    • ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบธุรกิจ (Entrepreneur)
    • งาน Post Production อื่นๆ
  • อาชีพนักออกแบบสร้างสรรค์งานอิสระ (Freelance)
  • นักวิชาการ นักประชาสัมพันธ์ นักวิจัย เป็นต้น